วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พฤติกรรมวัยรุ่นที่ก่อปัญหาและการปรับตัวทางเพศ


พฤติกรรมวัยรุ่นที่ก่อปัญหาและการปรับตัวทางเพศ
พฤติกรรมวัยรุ่นที่ก่อปัญหา
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่ง ซึ่งแสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายประการ เช่น ดื้อ ไม่เชื่อฟัง ละเมิดกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ มีแฟนและมีเพศสัมพันธุ์ ใช้ยาเสพติด ทำผิดกฎหมาย ปัญหาพฤติกรรมบางอย่างมักเกิดขึ้นมานาน จนทำให้การแก้ไขมักทำได้ยาก การป้องกันปัญหาจึงมีความจำเป็น และสำคัญมากกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว การป้องกันดังกล่าว ควรเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งแต่เด็ก เด็กที่มีพัฒนาการของบุคลิกภาพดี จะมีภูมิต้านทานโรคทางจิตเวชต่างๆ และช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้อย่างมากเช่นกัน พ่อแม่และครูอาจารย์และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหลาย จึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ สังคมและสิ่งแวดล้อมก็ควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นเช่นเดียวกัน
ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย
ไม่เรียนหนังสือ
ติดเกมส์ pastedGraphic.pdf
ติดการพนัน   pastedGraphic_1.pdf
การเรียน การปรับตัว
ปัญหาทางเพศ สาเหตุ
การใช้และติดยาเสพติด    pastedGraphic_2.pdf
พฤติกรรมผิดปกติ Conduct disorder   pastedGraphic_3.pdf
โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย   
บุคลิกภาพผิดปกติ
สาเหตุของปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น
ร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของสารเคมี สารสื่อนำประสาท โรคทางกาย โรคระบบประสาท สารพิษ 
จิตใจ บุคลิกภาพ ความคิด การมองโลก การปรับตัว 
สังคม การเลี้ยงดู ปัญหาของพ่อแม่ ตัวอย่างของสังคม สื่อต่างๆ
จุดเน้นของการพัฒนาวัยรุ่นไทย เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรม
เป้าหมายของการพัฒนา มุ่งสู่ อีคิว 
ให้มีพัฒนาการทุกด้าน ซึ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต มีทั้งเก่ง ดี และ มีสุข
การเรียน เน้นให้ เรียนรู้ด้วยตัวเอง คิดเอง 
วัยรุ่นจะเป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง อยากเรียนรู้ด้วยตัวเอง ความรู้ทางวิชาการนับวันจะมีมากขึ้น ครูไม่สามรถสอนความรู้ให้หมดได้อีกต่อไป ในอนาคต การเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก รวมถึงการรู้จักเลือกแหล่งข้อมูลข่าวสาร ให้ได้สิ่งที่ถูกต้อง
หาเอกลักษณ์ส่วนตน
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เด็กจะเริ่มเข้าใจตนเอง รู้จักตนเองมากขึ้นว่า เป็นคนอย่างไร มีความชอบความถนัดอะไรบ้าง มีจุดเด่นจุดด้อยอะไร อยากเรียนไปทางไหน อยากทำอาชีพใด รวมถึงเอกลักษณ์ทางเพศด้วย 
การทำงานร่วมกัน 
ส่งเสริมให้มีทักษะในการทำงานร่วมกัน มีความสามัคคี มีทักษะในการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี ระเบียบวินัยส่วนตัว และของกลุ่ม มีการสื่อสารเจรจาที่มีประสิทธิภาพ
   pastedGraphic_4.pdf
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กรู้จักการคิดและทำด้วยตนเอง มีความพอใจ และภูมิใจกับการทำงาน มีความสนุกกับงาน มองเห็นงานเป็นเรื่องท้าทายความสมารถ ไม่ท้อแท้ สู้งาน เพลิดเพลินได้กับงาน และพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอยู่เสมอ
วงจรความสุขของชีวิต
เด็กทุกคนควรมีวิธีทำให้ตนเองมีความสุข และสนุกกับการดำเนินชีวิต ด้วยงานหรือกิจกรรมที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจ มักจะเป็นเรื่องที่ตนเองชอบหรือมีความถนัด สามารถทำได้ดี ประสบผลสำเร็จ เมื่อทำแล้วเกิดความสุข เกิดแรงจูงใจที่จะทำอีก เด็กที่มีวงจรความสุข มักจะไม่เข้าหายาเสพติด หรือมีเพศสัมพันธ์
การส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ทำได้อย่างไร
การส่งเสริมสุขภาพจิตวัยรุ่น ต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก ให้มีการพัฒนาเด็กทุกด้านไปพร้อมๆกัน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม 
ใครจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น 
เด็กได้รับอิทธิพลจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เริ่มต้นจากพ่อแม่ พี่น้อง ญาติใกล้ชิด เพื่อน เพื่อนบ้าน เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนก็ได้รับอิทธิพลจากครูและเพื่อนนักเรียน รุ่นพี่รุ่นน้อง และจากสังคมสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็ก การส่งเสริมพัฒนาการเด็กจึงต้องการความร่วมมือกันของหลายฝ่าย เริ่มต้นจากที่บ้าน สานต่อที่โรงเรียน และสังคมรอบๆตัวเด็กนั่นเอง ทุกคนควรมีส่วนร่วมกันเสมอในการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี ที่ถูกต้อง มิใช่ช่วยแต่ลูกหลานของตนเอง แต่ช่วยลูกหลานคนอื่นด้วยเมื่อมีโอกาส เพราะในที่สุดทุกคนก็ต้องอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน 
ตัวอย่างของการช่วยกันส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กที่ดี คือช่วยกันสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อเด็ก มีความปลอดภัย เมื่อเห็นเหตุการณ์ที่เด็กมีความลำบากเดือดร้อน ควรหาทางช่วยเหลือ แก้ไข ช่วยกันปกป้องเด็กไม่ให้ได้รับอบายมุข ยาเสพติด การกระตุ้น ยั่วยุทางเพศ เป็นต้น 
บทบาทของพ่อแม่ ควรจะเป็นอย่างไร
บทบาทของพ่อแม่ในการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กเป็นบทบาทหลัก และเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการเด็ก หลักสำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีของพ่อแม่ ครอบครัวมีความรักความอบอุ่น มีความสุข มั่นคง
นอกจากนี้ สิ่งที่พ่อแม่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดขึ้น คือ 
1 สร้างความสำพันธ์ที่ดี กับเด็ก มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันต่อเนื่องสม่ำเสมอ และยาวนานพอ
พ่อแม่ควรรู้เขา รู้เรา เข้าใจความคิดความรู้สึกของลูก คาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ว่า ลูกน่าจะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร น่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา รู้จุดเด่น จุดอ่อน ของลูก 
รับฟังได้มากขึ้น เกิดการยอมรับกัน ประนีประนอมกัน 
สร้างขอบเขตที่เหมาะสมได้ง่าย เคารพในกติกาที่ช่วยกันสร้างขึ้น
ส่งเสริม ชี้แนะ แนะนำ ตักเตือน
ยืนยันในเรื่องที่ วิกฤต เท่าที่จำเป็น ไม่ควรมีมากนัก 
2. ให้รางวัลในพฤติกรรมที่ดี พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก การให้รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ หรือเงิน อาจให้คำชม การชื่นชม ก็เพียงพอสำหรับเด็ก
3. เอาจริงกับสิ่งที่ตกลงกันไว้ ถ้ามีการละเมิดข้อตกลง ต้องมีวิธีการเตือนที่ได้ผล พ่อแม่ควรทบทวนดูเสมอว่า วิธีการเตือนแบบใดที่ไม่ได้ผลก็ควรเลิกใช้ การเตือนที่ได้ผลมักจะเกิดจากการตกลงกันไว้ล่วงหน้า และเมื่อเตือนแล้วกำกับให้เกิดผลอย่างจริงจัง ทันที เด็กจะเรียนรู้ว่าพ่อแม่เอาจริงกับสิ่งที่พูด และตกลงกันล่วงหน้า เมื่อมีการตกลงกันในเรื่องใดๆอีก เด็กก็จะตั้งใจทำตาม
วิธีที่ไม่ได้ผล
o การพูดย้ำซ้ำๆ แล้วเด็กไม่ได้ปฏิบัติ
o การบ่นมากๆ
pastedGraphic_5.pdf
o การเปรียบเทียบกับเด็กอื่นๆ
o การข่มขู่(แล้วไม่ได้ทำตามนั้น)
o การปรามาส ดูถูกให้ได้อายโดยหวังว่าจะฮึดสู้ มีมานะ และแก้ไขตนเองได้
o การลงโทษรุนแรง ด้วยกำลังเช่นการตี ตบ เตะต่อย ผลักไส หรือด้วยวาจา เช่น ด่าว่า เปรียบเทียบเป็นสัตว์ที่ด้อยปัญญา ด่ากระทบไปถึงคนอื่น เช่น พ่อมันไม่ดี แม่มันไม่สั่งสอน เชื้อสายมันเลว
pastedGraphic_6.pdf
o ตัดความสำพันธ์ ไม่พูดด้วย ไม่สนใจ ไม่ดูแล ไม่ส่งเสริม โดยหวังว่าจะสำนึกและมาขอโทษ 
วิธีที่น่าจะทำ
เอาจริงทันที โดยเฉพาะตอนเริ่มต้นสร้างกติกากันใหม่ๆ ต้องคอยสังเกต ติดตาม ถ้าทำได้อย่าลืมชื่นชม ถ้าทำไม่ได้ ควรมองในแง่ดีว่า เขาอาจลืม ยังไม่สม่ำเสมอจนจะทำได้เป็นอัตโนมัติ ซึ่งจะต้องทำซ้ำๆต่อเนื่องกันนั้นนานพอ (ประมาณ 3 สัปดาห์) ในเด็กสมาธิสั้นอาจต้องใช้เวลามากกว่านี้ และในกรณีที่เป็นการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีเก่าที่ทำติดตัวมานานแล้ว อาจต้องใช้เวลามากขึ้น
หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาทันที
ทบทวนว่าเคยมีการพูดคุยกันล่วงหน้าก่อนหรือไม่ เช่น ถ้าเล่นเกมเลยเวลาที่ตกลงกันไว้ จะมีการจัดการอย่างไร ถ้ามีอยู่แล้ว ให้จัดการตามนั้นอย่างจริงจัง แต่นุ่มนวล เน้นเรื่องของการตกลง ทำอย่างไรได้ผลอย่างนั้น ถ้าไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก ควรทำอย่างไร คาดหวังว่า ครั้งต่อไปเขาจะควบคุมตัวเองได้ 
รับฟังความคิดเห็น คำโวยวายได้สั้นๆ จับประเด็นที่ไม่พอใจ สะท้อนความคิด ความรู้สึกของเขาสั้นๆ 
ไม่มีการต่อรอง เจรจา ผัดผ่อน การดำเนินการควรทำทันที และเป็นไปให้สอดคล้องกับการตกลงกันไว้ล่วงหน้า
ถ้าไม่มีการตกลงกันล่วงหน้า ให้ใช้ กฎมาตรฐาน เช่น ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ละเมิดตนเอง ไม่ทำให้ของเสียหาย หรือฟุ่มเฟือยเกินเหตุ และตั้งเป็นกติกามาตรฐานไว้เลย เด็กจะต้องการหลักยึดที่ชัดเจน และบางครั้งอาจต้องลงรายละเอียดให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น
-อย่านอนดึก ควรเปลี่ยนเป็น เวลานอนที่กำหนด คือ สี่ทุ่ม
-ต้องอ่านหนังสือเรียน ควรเปลี่ยนเป็น เวลาอ่านหนังสือ คือ สามทุ่ม ถึงสี่ทุ่ม
มีการกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติในระยะแรกให้ชัดเจน เช่น กฎข้อนี้เราจะทดลองทำร่วมกันประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะมีการมาทบทวนกันใหม่ เป็นการเปิดช่องทางให้มีการเจรจา เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยพ่อแม่ไม่เสียหน้า และปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางอย่างให้ทำได้ง่ายขึ้น เปิดช่องให้เด็กมีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่รู้สึกเป็นการบังคับกันเกินไป และได้การเรียนรู้ว่า เมื่อตกลงกันแล้ว ต้องทำ ถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขยังมีโอกาสทำได้อยู่ แต่ต้องมาตกลงกันก่อน เป็นการเปิดช่องทางการ เจรจาเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมแล้วจะมีแรงจูงใจให้เขาทำตามนั้นมากขึ้น การให้เด็กสร้างกติกากับตนเอง เป็นการฝึกให้เขาเป็นตัวของตัวเอง แต่มีระเบียบวินัยจากภายใน (self control) ซึ่งจะเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตเขาต่อไป พ่อแม่จะเหนื่อยน้อยลงที่จะไม่ต้องไปสร้างระเบียบวินัยจากภายนอก (external control or social rules) 
เมื่อมีการลงโทษ ควรสรุปสั้นๆก่อนการลงโทษ ว่าเกิดอะไรขึ้น เหตุใดจึงมีการลงโทษ ชื่นชมเด็กที่รู้จักสำนึกได้ หรือเปิดเผยไม่โกหกปิดบัง ชวนให้เด็กคิดว่า ถ้าจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก ควรจะทำอย่างไร จะป้องกันได้อย่างไร และคาดหวังในทางที่ดีว่า เขาน่าจะทำได้ เราจะคอยดู และชื่นชมเขาในโอกาสต่อไป
ถ้าเด็กไม่คิดไม่เรียนรู้ ไม่สำนึกในระยะแรก ให้คุยใหม่หลังจากพ้นโทษทันที หรือในระยะเวลาต่อมาที่ไม่นานเกินไป ชวนคุยให้เด็กทบทวนตนเองว่า เกิดอะไรขึ้น รู้สึกอย่างไร อยากป้องกันไม่ให้เกิดอีกอย่างไรดี กระตุ้นให้คิด และชมความคิดที่ดีของเขา เป็นการฝึกให้เด็กคิด ทบทวนตนเอง และวางแผนเกี่ยวกับตนเอง ที่สำคัญคือ นำมาใช้กับชีวิตตนเองได้มากขึ้น โดยไม่ต้องให้มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่คอยบอกคอยเตือน คอยบังคับให้ทำโน่นทำนี่อีกต่อไป 
4 เปิดโอกาสให้ได้รับการชื่นชม สร้างกิจกรรมที่เด็กจะได้แสดงออกอย่างภาคภูมิใจตนเอง ตามความชอบความถนัด
5 หาพฤติกรรมทดแทน มาแทนที่พฤติกรรมที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
6 พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดี มีระเบียบวินัย จัดการกับชีวิตอย่างเหมาะสม มีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
7 ส่งเสริมพฤติกรรมและการเรียนรู้ให้ครบทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม สังเกตจุดอ่อน และสร้างทักษะใหม่ที่จะเอาชนะจุดอ่อนเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่งเสริมจุดเด่นให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เอาตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง 
8 ช่วยให้เด็กหาเอกลักษณ์ของตนเองได้ สังเกตจาก ความชอบ ความถนัด ผลการเรียน กิจกรรม ที่ชอบ และทำได้ด้วยตัวเอง ความพอใจ แนวคิด ความเชื่อ กลุ่มเพื่อน วิชาชีพที่อยากเรียน อาชีพที่ต้องการ รวมถึงเอกลักษณ์ทางเพศ สนับสนุนให้เป็นไปตามเอกลักษณ์ แต่ให้ได้การเรียนรู้ในพัฒนาการด้านอื่นๆด้วย
เด็กทุกคนควรมี วงจรชีวิตที่สร้างความสุข (pleasure circuit) เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้อย่างถูกต้อง ในเวลาว่าง หรือในเวลาที่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น แม้ว่าจะขาดโอกาส ขาดเงิน อยู่คนเดียว มีความทุกข์ มีเหตุการณ์บีบคั้น
ตัวอย่างของวงจรความสุขที่ดี
การอ่าน การเขียน
ศิลปะ วาดรูป ระบายสี แกะสลัก เซรามิกส์ ดนตรี กวี
การท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ และสร้างสรรค์ ทัศนศึกษา
การเล่นกีฬา แอโรบิก กีฬาทักษะฝีมือ กีฬาสร้างความพร้อม(การต่อสู้ป้องกันตัว) กีฬาเอาตัวรอด(ว่ายน้ำ วิ่ง ปีนป่าย)
เกม หมากกระดาน 

pastedGraphic.pdf

9 สนับสนุนกลุ่มเพื่อนที่ดี ช่วยแก้ไขกลุ่มที่มีความเสี่ยง รักลูก ให้รักเพื่อนของลูกด้วย เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากกันเอง ภายใต้การดูแล เงียบๆ หัดให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์เพื่อนให้เป็น
10 ฝึกให้เด็กรู้จักการจัดการกับความเสี่ยง (risk management) 
วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง โอกาสอันตราย คิดล่วงหน้าถึงความเป็นไปได้ในด้านลบ 
หาสาเหตุของความเสี่ยง และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ในแง่มุมต่างๆ อย่างถี่ถ้วน 
หาวิธีป้องกันความเสี่ยง การลดความเสี่ยงด้วยวิธีการต่างๆ หรือการแก้ไขปัญหา ถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น มีช่องทางออก ทางหนีทีไล่อย่างไร วิเคราะห์โอกาสต่างๆ ข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก
บทบาทของครู ควรจะทำอย่างไร
ครูควรมีบทบาทส่งเสริมพัฒนาการต่อจากพ่อแม่ ด้วยการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้านเช่นกัน โดยเฉพาะพัฒนาการด้านสังคม และจริยธรรม ใช้หลักพฤติกรรมบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก และถ้าจำเป็นต้องลงโทษ ควรมีหลักการลงโทษที่ดี ได้ผล และไม่เกิดผลเสียตามมา เมื่อเด็กเริ่มมีปัญหา ครูควรมีมาตรการจัดการให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว โรงเรียนควรมีระบบการให้ความช่วยเหลือเด็กอย่างชัดเจน มีการประสานงานกับแหล่งทรัพยากรที่จะให้ความช่วยเหลือได้ เช่นทีมงานสุขภาพจิตที่อยู่ใกล้เคียง เป็นต้น 
แนวทางการแก้ไข/ช่วยเหลือเมื่อเด็กเริ่มมีปัญหา
  1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดี 
  2. รับฟังปัญหาเด็กเสมอ ไม่ตำหนิ หรือสั่งสอนเร็วเกินไป ท่าทีเป็นกลาง 
  3. เข้าใจปัญหา หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา 
  4. มองเด็กในแง่ดี มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ 
  5. กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีทางเลือกหลายๆทาง วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน 
  6. ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง 
  7. เป็นแบบอย่างที่ดี 
  8. ใช้กิจกรรมช่วย กีฬา ดนตรี ศิลปะ กิจกรรมกลุ่ม 
  9. ให้เพื่อนช่วยเพื่อน อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน ไม่ตัวใครตัวมัน 
  10. ชมเชยเมื่อทำได้ดี 
  11. เมื่อทำผิด มีวิธีตักเตือน ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น 
  12. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม 
  13. ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา แก้ไขปัญหาครอบครัว 
การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้พฤติกรรมบำบัด
จัดสิ่งแวดล้อม ( environmental manipulation)
ใช้สิ่งกระตุ้น ( cueing) 
เงื่อนไข (conditioning)
รางวัล (operant conditioning or positive reinforcement)
เบี้ยอัตถกร (Token)
แก้ไขด้วยการทำซ้ำ (overcorrection)
ดัดพฤติกรรม (shaping)
แบบอย่าง (modeling)
ใช้น้ำดีไล่น้ำเน่า (substitution)
ลงโทษ (punishment)
ถอนพฤติกรรม (negative reinforcement) ลดการลงโทษ/ดุ/ด่า ที่ไม่ได้ผล
หลักการลงโทษ
1 ไม่เสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน
2 หาข้อมูลให้ครบถ้วน อย่าลงโทษผิดคน ฟังเด็ก แจ้งข้อหาให้ชัดเจน
3 ลงโทษให้ถูกคน อย่าลงโทษกลุ่มจากความผิดของคนๆเดียว 
4 ไม่อาย เสียหน้า เสียเกียรติหรือศักดิ์ศรีของมนุษย์ไม่ควรไล่ให้ไปพ้นๆ ไปขายเต้าฮวย ฯลฯ
5 ไม่น่ากลัวเกินไป ไม่ควรขู่ หรือขู่แล้วไม่ทำตามที่ขู่ 
6 ไม่รบกวนการเรียนรู้ปกติ ไม่ควรไล่ออกจากห้อง 
7 ไม่เสียความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เช่น การด่าว่า เป็นสัตว์ ใช้คำพูดหยาบคาย
8 มีการตกลงกันไว้ก่อน ว่าถ้ามีการทำความผิด จะเกิดอะไรขึ้น
9 ทำด้วยความสงบ ไม่ใช้อารมณ์
10 ไม่รุนแรงจนบาดเจ็บ หรือมีความเสี่ยงต่ออันตราย
11 เปิดโอกาสให้เด็กคิด ทบทวนตนเอง 
12 จบแล้วจบกัน ไม่คิดแค้น ไม่มีอคติต่อไป
13 มองเด็กในแง่ดี คาดหวังดีต่อไป เปิดโอกาสให้แก้ตัวใหม่เสมอ
ตัวอย่างการปรับพฤติกรรม ที่อาจทดแทนการตี การตำหนิ การประณามหรือประจาน
o การขอเวลานอก
o การออกกำลัง
o การตัดคะแนน
o การตัดรางวัล งดกิจกรรมบางอย่าง
o การบำเพ็ญประโยชน์
o การกักบริเวณ pastedGraphic_1.pdf
o การจูงใจให้เปลี่ยนพฤติกรรมด้วยเทคนิคการให้คำปรึกษา
การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้การให้คำปรึกษา (Counseling)
การให้คำปรึกษา คือการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ด้วยการใช้เทคนิคต่าง ของการสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร ความเข้าใจและมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา ประกอบด้วย
สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
สำรวจปัญหาร่วมกัน และเลือกเรื่องที่จะทำงานร่วมกัน
ประคับประคองจิตใจให้อารมณ์สงบ
การแก้ปัญหา กระตุ้นให้มองหาทางเลือก ข้อดีข้อเสีย ชี้แนะ ช่องทาง ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ
ให้ตัดสินใจด้วยตนเอง
การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง และติดตามผล
การยุติการช่วยเหลือ 
การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวบำบัด
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว
แสวงหาข้อมูลจากครอบครัว
วิเคราะห์ครอบครัว ปัญหาของครอบครัว จุดอ่อน จุดแข็ง หน้าที่ของครอบครัว บทบาท การสื่อสาร การเข้าใจความรู้สึก 
ชักจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในโครงสร้าง และหน้าที่ของสมาชิกครอบครัว
ชี้แนะช่องทางของการเปลี่ยนแปลง
ฝึกทักษะที่เป็นปัญหา
ใช้หลักพฤติกรรมบำบัด ร่วมด้วยเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้เพื่อน
สร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันแบบกลุ่ม ไม่โดดเดี่ยว ไม่เอาตัวรอดคนเดียว เพื่อนมีหน้าที่ช่วยเหลือกัน
สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน เมื่อมีใครหายไปเพื่อนควรสนใจ เป็นห่วงเป็นใย ติดตามข่าวสาร พยายามดึงเพื่อนเข้ากลุ่ม มีการแบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน
เมื่อมีเพื่อนทำผิด เพื่อนที่ดีควรช่วยเตือน และชักจูงให้เปลี่ยนแปลง เลิกทำผิด กลับมาทำดี โดยไม่โกรธกัน มองกันในทางที่ดี
ฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี บอกความคิด ความต้องการ ความรู้สึก เมื่อไม่พอใจมีวิธีบอกให้เพื่อนเข้าใจ และสนองความต้องการกันได้ตรงจุด 
ฝึกทักษะสังคมทางบวก การให้ การรับ การขอโทษ การขอบคุณ การเข้าคิว รอคอย การทำดีต่อกัน การพูดดีๆ สุภาพ อ่อนโยน ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อกัน 
การสื่อสารที่ดี
  1. หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า ทำไม” 
การใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า ทำไม.....” เช่น ทำไมเธอมาโรงเรียนสาย จะสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจได้ 2 แบบ คือ

pastedGraphic_2.pdf
เธอทำไม่ดีเลย ทำไมจึงทำเช่นนั้น และ
pastedGraphic_3.pdf
ถ้ามีเหตุผลดีๆ การกระทำเช่นนั้นก็อาจเป็นที่ยอมรับได้ 
ผลที่ตามมาคือ เด็กจะพยายามหาเหตุผลเข้าข้างตนเองมากขึ้น เพื่อพยายามยืนยันว่า ความคิดและการกระทำของเขาถูกต้อง เป็นการสอนให้เด็กเถียงแบบข้างๆคูๆ แล้วครูก็จะโมโหเด็กเสียเอง ทั้งๆที่เป็นคนเริ่มต้นให้เด็กหาเหตุผล แต่เมื่อเด็กแสดงเหตุผล ก็ไม่ยอมรับเหตุผลของเขา
ถ้าต้องการทราบเหตุผลจริงๆของพฤติกรรมเด็ก ควรถามดังนี้
ครูอยากรู้จริงๆว่าอะไรทำให้เธอทำอย่างนั้น
พอจะบอกครูได้ไหมว่า เธอคิดอย่างไรก่อนที่จะทำอย่างนั้น
เกิดอะไรขึ้น ทำให้เธอมาโรงเรียนสายในวันนี้
มันเกิดอะไรขึ้น ไหนลองเล่าให้ครูเข้าใจหน่อย
  1. ตำหนิที่พฤติกรรม มากกว่า ตัวเด็ก 
ถ้าครูจะตำหนิเด็ก ต้องระวังการต่อต้านไม่ยอมรับ วิธีการที่ทำให้เด็กยอมรับ และไม่เสียความรู้สึกด้านดีของตนเอง สามารถทำได้ด้วยการตำหนิที่พฤติกรรมนั้น ดีกว่าตำหนิที่ตัวเด็ก ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 
การมาโรงเรียนสาย เป็นสิ่งที่ไม่ดี ดีกว่า เธอนี่แย่มาก ขี้เกียจจังเลยถึงมาสาย
การทำเช่นนั้น ไม่ฉลาดเลย ดีกว่า เธอนี่โง่มากนะ ที่ทำเช่นนั้น
ครูไม่ชอบที่เธอไม่ได้ช่วยงานกลุ่ม งานนี้ทุกคนต้องช่วยกัน ดีกว่า เธอนี่เป็นคนเอาเปรียบเพื่อนนะ
ไม่ควรใช้คำพูดทำนองว่า เป็นนิสัยไม่ดี หรือสันดานไม่ดี เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน หรือแกล้งเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือลามไปถึงพ่อแม่ เช่น อย่างนี้พ่อแม่ไม่เคยสอน ใช่ไหม” 
  1. ฝึกใช้คำพูดที่ขึ้นต้น ฉัน......” มากกว่า เธอ.............” ( I-YOU Message) ได้แก่ 
ครูไม่ชอบการที่นักเรียนมาสาย ดีกว่า เธอนี่แย่มากที่มาสาย
ครูอยากให้นักเรียนมาเช้า” 
ครูไม่ชอบพูดเวลานักเรียนไม่ตั้งใจฟัง
ครูอยากให้นักเรียนหยุดฟัง เวลาครูพูด
ครูเสียใจที่เธอทำเช่นนั้น
ครูอยากให้เธอ..................”
ครูจะดีใจมากที่................”
  1. บอกความคิด ความรู้สึก ความต้องการ 
ฝึกให้เด็กมีทักษะในการสื่อสาร ความกล้าพูด กล้าบอกสิ่งที่ตัวเองคิด รู้สึก และต้องการอย่างสุภาพ เข้าใจกัน ทั้งต่อครู และต่อเพื่อนๆด้วยกันเอง ไม่ควรอาย หรือกลัวเพื่อนโกรธ บางคนกลัวเพื่อนไม่ยอมรับ เลยยอมตามเพื่อน ถูกเพื่อนเอาเปรียบ 
ครูช่วยกระตุ้นเรื่องนี้ได้ ด้วยการฝึกรายบุคคล 
เธอคิดอย่างไร เรื่องนี้............”
เธอรู้สึกอย่างไร ลองบอกครู...........”
เธอต้องการให้เป็นอย่างไร...........”
ครูควรรับฟังเด็กมากๆ ให้เขารู้สึกว่า การพูดบอกเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ และสามารถบอกกับเพื่อนๆได้ด้วย
  1. ชมบนหลังคา ด่าที่ใต้ถุน 
ครูควรมีเทคนิคในการชม ให้เกิดความภาคภูมิใจตนเอง ควรชมให้ผู้อื่นทราบด้วย หรือร่วมชื่นชมด้วย และเมื่อชมแล้ว อาจเสริมให้เด็กรู้สึกต่อไปว่า เขาคงจะพอใจที่ตัวเองเป็นคนดีด้วย ต่อไปเด็กจะชื่นชมตัวเองเป็น ไม่ต้องรอให้คนอื่นเห็นความดีของตน หรือรอให้คนอื่นชมเสมอไป ดังตัวอย่างนี้
ครูดีใจมากที่เธอช่วยเหลือเพื่อน เธอคงรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ทำเช่นนั้น ใช่ไหม
พวกเราภูมิใจที่เธอได้รางวัลครั้งนี้ ช่วยกันตบเมือให้หน่อย เธอคงภูมิใจในตัวเองเหมือนกันใช่ไหมจ๊ะ
แต่เวลาเตือน อย่าให้เกิดความอับอาย ให้ค่อยๆคิด และยอมรับด้วยตัวเอง อย่าให้เสียความรู้สึก ควรเตือนเป็นการส่วนตัว ก่อนจะเตือน ควรหาข้อดีของเขาบางอย่าง ชมตรงจุดนั้นก่อน แล้วค่อยเตือนตรงพฤติกรรมนั้น เช่น
ครูรู้ว่าเธอเป็นคนฉลาด แต่การที่เธอเอาของเพื่อนไปโดยไม่บอกนี่ไม่ถูกต้อง
ครูเห็นแล้วว่าเธอมีความตั้งใจมาก แต่งานนี้เป็นงานกลุ่มที่ต้องช่วยกันทำทุกคนนะจ๊ะ
  1. ถามความรู้สึก สะท้อนความรู้สึก เช่น 
หนูคงเสียใจ ที่คุณครูทำโทษ” (สะท้อนความรู้สึก)
หนูรู้สึกอย่างไรบ้าง ที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน” (ถามความรู้สึก)
เธอรู้สึกอย่างไรบ้าง เมื่อถูกเพื่อนแกล้ง” (ถามความรู้สึก)
เธอคงโกรธที่ถูกเพื่อนแกล้ง” (สะท้อนความรู้สึก)
เรื่องที่คุยกันนี้คงจะกระทบความรู้สึกของหนูมาก ครูจะคุยกันต่อได้ไหม” (สะท้อนความรู้สึก)
  1. ถามความคิดและสะท้อนความคิด เช่น 
เมื่อเธอโกรธ เธอคิดจะทำอย่างไรต่อไป” (ถามความคิด)
เมื่อเด็กตอบว่า ผมอยากกลับไปชกหน้ามัน ควรพูดต่อไปว่า
เธอโกรธมากจนคิดว่าน่าจะกลับไปชกหน้าเขา” (สะท้อนความคิด)
การถามและสะท้อนความรู้สึกและความคิด จะได้ประโยชน์มาก เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่า เราเข้าใจ(ความคิด และความรู้สึก)ของเขา ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี เป็นพวกเดียวกัน และจะเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น ชักจูงได้ง่ายขึ้น
  1. การกระตุ้นให้คิดด้วยตนเอง 
ในการฝึกให้เด็กคิดและแก้ปัญหานั้น ควรฝึกให้เด็กคิดเองก่อนเสมอ เมื่อเด็กคิดไม่ออก ไม่รอบคอบ ไม่กว้าง ครูอาจช่วยชี้แนะให้ในตอนท้าย เช่น 
เธอคิดว่าปัญหาอยู่ที่ไหน” (ให้คิดสรุปหาสาเหตุของปัญหา)
แล้วเธอจะทำอย่างไรต่อไปดี” (ให้คิดหาทางออก)
ทางออกแบบอื่นละ มีวิธีการอื่นหรือไม่” (ให้หาทางเลือกอื่นๆ ความเป็นไปได้อื่นๆ)
ทำแบบนี้ แล้วคาดว่าผลจะเป็นอย่างไร” (ให้คิดถึงผลที่ตามมา)
เป็นไปได้ไหม ถ้าจะทำแบบนี้....(แนะนำ).......เธอคิดอย่างไรบ้าง
การปรับตัวทางเพศ
การปรับตัวทางเพศที่เหมาะสม หมายถึง การรู้จักวางตัวในบทบาทที่เหมาะสมกับเพศของตน ซึ่งจะช่วยให้เราเกิดความรู้สึกมั่นคงในความเป็นหญิง หรือความเป็นชายของตัวเอง ไม่ประหม่า อึดอัด หรือปรับตัวไม่ได้เมื่ออยู่ต่อหน้าเพื่อนต่างเพศ วัยรุ่นมีความรู้สึกรวดเร็วต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีอารมณ์รุนแรง เนื่องจากร่างกายมีการสร้างฮอร์โมน ทางเพศ วัยรุ่นจึงเริ่มสนใจเพศตรงข้าม และเริ่มมีความวิตกกังวลในเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ทั้งสัดส่วนและรูปร่าง การใกล้ชิดกัน ทำงานร่วมกันทำให้เกิดความกังวลเรื่องการปรับตัวและการวางตัว ให้เหมาะสมกับเพศตรงข้าม
pastedGraphic_4.pdf


การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพศ
การคบเพื่อนต่างเพศจะช่วยให้วัยรุ่นมีการปรับตัวทางเพศและทางสังคมได้เหมาะสม โดยอยู่บนพื้นฐานของการเท่าเทียมกัน การนับถือและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ดังนั้น การคบเพื่อนต่างเพศของวัยรุ่น จะต้องระลึกถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ 
การคบเพื่อนต่างเพศที่เหมาะสม
pastedGraphic_5.pdf
1. วัยรุ่นชายจะต้องคิดเสมอว่าวัยรุ่นหญิงเป็นเพศเดียวกับแม่ พี่สาวหรือน้องสาวจึงควรให้ความช่วยเหลือและให้เกียรติ
2. ควรหลีกเลี่ยงการถูกเนื้อต้องตัว เพราะอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ตั้งใจได้
3. ควรหลีกเลี่ยงการไปพักค้างร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือตามลำพังโดยไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล
4. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กันตามลำพังในที่ลับตาคน
pastedGraphic_6.pdf
5. ควรหลีกเลี่ยงการไปในที่เปลี่ยว โรงแรมและสถานเริงรมย์ที่เป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น
6. ควรหลีกเลี่ยงการมีนัดหมายกับเพศตรงข้ามในยามวิกาล
7. วัยรุ่นหญิงควรแต่งกายเรียบร้อยและมิดชิดไม่ควรแต่งกายในลักษณะที่ยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อไปกับเพื่อนชาย
8. หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนหรือออกเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศที่ไม่รู้จักดีพอ
9. วางตัวเป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ควรมีการล่วงเกินทางเพศ
10. มีกิริยามารยาทดี มีความอดทน อดกลั้น
pastedGraphic_8.pdf

เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศควรรีบปรึกษาหารือผู้รู้ เรื่องเพศไม่ใช่เรื่องน่าอาย วัยรุ่นสามารถขอคำปรึกษาได้จากพ่อแม่ ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามสถานบริการของรัฐและคลินิคให้คำปรึกษาต่าง ๆ ไม่ควรปล่อยให้มีปัญหาจนสายเกินไป

ผลที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ
การที่เด็กวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจให้รอบคอบก่อน จะส่งผลกระทบในทางที่ไม่พึงปรารถนาหลายๆ ด้าน ดังนี้
ก. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ได้แก่ หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส แผลริมอ่อน เริม หูดหงอนไก่ พยาธิในช่องคลอด เชื้อรา โรคเอดส์ และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมาคือ เป็นหมัน เป็นมะเร็งปากมดลูก เสียสติเนื่องจากซิฟิลิสขึ้นสมอง และเสียชีวิตเนื่องจากเลือดเป็นพิษเป็นเอดส์ และหญิงที่มีโรคเหล่านี้หากตั้งครรภ์จะมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายทั้งต่อแม่และทารกในครรภ์
ข. การตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ
เด็กวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการตายได้ง่ายทั้งตัวมารดาและทารกในครรภ์ โดยจะพบว่า แม่ที่อายุน้อยจะมีอัตราตายสูงกว่าแม่ที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นประชากรของประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือด้อยพัฒนาก็จะมีแบบแผนเดียวกัน ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในแม่วัยรุ่น คือ
§ ความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ จะพบสูงกว่าแม่ ที่มีอายุระหว่าง 20-24 ปี
§ การคลอดติดขัด เนื่องจากสรีรวิทยาที่ยังไม่พร้อมของหญิงเหล่านี้
§ เกิด fistula ระหว่างช่องคลอดกับกระเพาะปัสสาวะ หรือช่องคลอดกับทวารหนัก ซึ่งเป็นผลจากการคลอดติดขัด
§ ลูกของแม่วัยรุ่นมีโอกาสเกิดปัญหาต่างๆ ได้มากกว่า คือ น้ำหนักแรกเกิดน้อยมีอัตราตายปริกำหนด และอัตราตายของทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี สูงกว่า หากรอดตายก็มักมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการบกพร่อง และมีปัญหาด้านการเรียนในเวลาต่อมา
หากไม่ต้องการตั้งครรภ์ต่อไป แม่วัยรุ่นมักจะไปทำแท้ง โดยมักจะตัดสินใจล่าช้า จนเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 เนื่องจากความกลัว อาย ทำให้การทำแท้งยุ่งยาก และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย โดยเฉพาะการกระทำโดยผู้ที่ไม่มีความรู้ ความชำนาญ ได้แก่ การติดเชื้อ การตกเลือด ทารกพิการ การเป็นหมัน และเสียชีวิต
ส่วนปัญหาสังคมอื่นที่ตามมา คือ
  • ต้องถูกออกจากโรงเรียน ทำให้มีผลต่อการประกอบอาชีพในอนาคต ขาดโอกาสในการทำงานที่ดี เป็นที่รังเกียจของสังคม อาจลงเอยด้วยการฆ่าตัวตาย 
  • เด็กที่คลอดออกมามักจะถูกทอดทิ้ง หรืออาจถูกฆ่า หรืออาจต้องยกให้เป็นบุตรบุญธรรม 
  • การขาดทักษะในการเป็นพ่อแม่ ทำให้เด็กวัยรุ่นเลี้ยงลูก ด้วยความวิตกกังวล ท้อแท้ อาจทารุณกรรมเด็ก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กคนนั้นต่อไป ก่อให้เกิดปัญหาวนเวียนเป็นลูกโซ่หากจำเป็นต้องแต่งงานกันหรืออยู่ด้วยกัน อาจลงเอยด้วยการหย่าร้างเนื่องจากความไม่พร้อมในการครองคู่ และทำให้วัยรุ่นหญิงเหล่านี้ต้องเผชิญอนาคตอย่างโดดเดี่ยว 

อิทธิพลสังคมต่อวัยรุ่น

อิทธิพลของสังคมต่อทัศนคติของวัยรุ่น


1. เรื่องทัศนคติของเด็กไทยวัยรุ่นต่อบิดามารดา และครู
  • 1.1 ทัศนคติต่อบิดา ไม่มีความแตกต่างในกลุ่มวัยรุ่นหญิง และประเภทโรงเรียนสำหรับกลุ่มนักเรียนชายนั้น นักเรียนชายที่มีฐานะปานกลางมีทัศนคติที่ดีที่สุดต่อบิดาของตน แต่ผู้ที่มีฐานะต่ำมีทัศนคติต่อบิดาด้อยที่สุด
  • 1.2 ทัศนคติต่อมารดา มีความแตกต่างกันตามประเภทของโรงเรียน นักเรียนชายในโรงเรียนสหศึกษา มีทัศนคติต่อมารดาดีกว่านักเรียนชายในโรงเรียนเอกเพศ ส่วนนักเรียนหญิงกลับตรงกันข้าม กล่าวคือนักเรียนหญิงในโรงเรียนเอกเพศมีทัศนคติต่อมารดาดีกว่านักเรียนหญิงในโรงเรียนสหศึกษา
  • 1.3 เด็กวัยรุ่นหญิงมีทัศนคติต่อครูดีกว่าเด็กวัยรุ่นชาย เด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง มีทัศนคติที่ดีต่อครูมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจกลาง และต่ำ
  • 1.4 เด็กวัยรุ่นทั้งชายและหญิง มีทัศนคติที่ดีต่อมารดามากกว่าบิดา และมีทัศนคติดีต่อบิดามากกว่าครู



2. อิทธิพลของบิดามารดา และครู
  • 2.1เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศรู้สึกว่าบิดามีอิทธิพลต่อตนมากกว่าวัยรุ่นหญิงใน โรงเรียนเอกเพศ และนอกจากนี้วัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง รู้สึกว่าบิดามีอิทธิพลต่อตนมากกว่าวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะปานกลาง และต่ำ
  • 2.2เด็กวัยรุ่นชายหญิงทั้งจากในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษารู้สึกว่ามารดามีอิทธิพลต่อตนเท่าเทียมกัน
  • 2.3เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษารู้สึกว่าครูมีอิทธิพลต่อตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ
  • 2.4เด็กวัยรุ่นชายหญิงทั้งในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษารู้สึกว่ามารดามีอิทธิพลมากกว่าบิดาและมากกว่าครู


3. ความคาดหวังในผลของการกระทำความผิดที่ร้ายแรง
  • 3.1 เด็กวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงคาดหวังในผลการกระทำผิดว่าบิดาจะเป็นผู้ลงโทษ ซึ่งมากกว่าเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางถึงต่ำ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศกับโรงเรียนสหศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนสหศึกษาคาดว่าบิดาจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศ
  • 3.2เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษาคาดหวังว่าเมื่อตนทำผิดมารดาจะเสียใจมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงจากโรงเรียนเอกเพศ   มีความคาดหวังว่ามารดาจะเสียใจมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ
  • 3.3 เด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง จากโรงเรียนเอกเพศ คาดหวังว่าครูจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ กลาง และต่ำเด็กวัยรุ่นชายจากโรงเรียนสหศึกษาคาดหวังว่าครูจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายจากโรงเรียนเอกเพศ นอกจากนี้เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ คาดหวังว่าครูจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำเช่นกัน
  • 3.4 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา คาดหวังว่าเพื่อนจะเลิกคบตน ถ้าตนทำผิดที่ร้ายแรงมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ และในทำนองเดียวกันเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาก็คาดหวังว่า เพื่อนจะรังเกียจตนเมื่อทำผิดมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ
  • 3.5 เด็กวัยรุ่นหญิง คาดหวังว่าคนอื่นจะดูถูกดูหมิ่นเมื่อตนทำผิด มากกว่าเด็กวัยรุ่นชาย เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา คาดหวังว่าคนอื่น ๆ จะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา
  • 3.6 เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษา คาดหวังว่ากฏหมายจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาที่มีฐานะต่ำคาดหวังว่า กฏหมายจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ
  • 3.7 เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษา เชื่อบาปบุญคุณโทษทางศาสนาเกี่ยวกับการลงโทษตนเมื่อกระทำความผิดมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ
  • 3.8 เด็กวัยรุ่นชายหญิงทั้งในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษาคาดหวังว่า เมื่อตนกระทำผิด มารดาจะเสียใจมากกว่าบิดา ครู คนอื่น บ้านเมือง ศาสนา และเพื่อน




4. ทัศนคติต่อเพื่อน


  • 4.1 เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ มีความเห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่น่าคบควรเป็นผู้มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง เห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่เลือกคบควรเป็นผู้มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจกลางและต่ำตาม ลำดับ เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง เห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่เลือกคบควรเป็นผู้มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กชายวัยรุ่นในโรงเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจกลางและต่ำตามลำดับ เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาเห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่เลือกคบควรเป็นผู้มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงในโรงเรียนสหศึกษา เห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่น่าคบควรเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะต่ำในโรงเรียนเอกเพศ
  • 4.2 ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำรู้สึกว่าลักษณะของเพื่อนที่น่าคบควรเป็นผู้มีการเรียนดี มากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงและกลาง เด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำนิยมคบเพื่อนที่มีการเรียนดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐิจสูง ผู้วิจัยไม่พบความแตกต่างในหมู่เด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง กลาง และต่ำทั้งในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษา
  • 4.3 ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นชายหญิง ที่มีฐานะเศรษฐกิจสูง จะเลือกคบเพื่อนที่มีความสนใจตรงกันมากที่สุด มากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจกลาง และต่ำ ตามลำดับ เด็กวัยรุ่นหญิงทั้งในโรงเรียนเอกเพศและสหศึกษาที่มีฐานะเศรษฐกิจสูงชอบเพื่อนที่มีความสนใจตรงกันมากกว่าวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะเศรษฐกิจกลาง และต่ำ ตามลำดับ
  • 4.4ผู้ทำการวิจัยไม่พบความแตกต่างในเรื่องการเลือกคบเพื่อนที่ช่วยเหลือดีระหว่างเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศและ 
  • โรงเรียนสหศึกษา และในหมู่เด็กที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง กลาง และต่ำ
  • 4.5 เพื่อนที่มีฐานะดี มีความสำคัญต่อเด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ และเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศให้ความสำคัญต่อเพื่อนที่มีฐานะดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษา
  • 4.6 เกี่ยวกับทัศนคติต่อเพื่อนต่างเพศนั้น นักเรียนชายในโรงเรียนชายล้วนมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนต่างเพศมากกว่านักเรียนหญิงในโรงเรียนหญิงล้วน นอกจากนี้นักเรียนชายในสหศึกษายังมีแนวโน้มว่า มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนต่างเพศมากกว่านักเรียนหญิงจากโรงเรียนประเภทเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามนักเรียนในโรงเรียนสหศึกษาทั้งชายและหญิงก็ยังมีทัศนคติต่อเพื่อนต่างเพศดีกว่านักเรียนชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศ               

5. ความกังวลใจของเด็กวัยรุ่น 
  • 5.1เมื่อเปรียบเทียบเด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มาจากโรงเรียนเอกเพศกับโรงเรียนสหศึกษา พบว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศมีความกังวลใจอันเนื่องมาจากบิดาเป็น สาเหตุมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา
  • 5.2 เด็กวัยรุ่นหญิงเห็นว่าความกังวลใจของตนอันเนื่องมาจากมารดาเป็นสาเหตุ มีมากกว่าเด็กวัยรุ่นชาย และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจ สูง กลาง และต่ำพบว่าเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำมีความกังวลใจอันมีสาเหตุมาจากมารดามากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง นอกจากนี้เด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศ มีความกังวลใจอันเนื่องมาจากมารดาเป็นสาเหตุมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา
  • 5.3 เด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศมีความกังวลใจอันเนื่องมาจาก ครูเป็นสาเหตุมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา และเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ เห็นว่าครูเป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจเท่ากัน
  • 5.4 ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางรู้สึกว่า เพื่อนเป็นสาเหตุให้เกิดความกังวลใจมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ และสูงตามลำดับ เด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ เห็นว่าเพื่อนเป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และสูง ตามลำดับ เด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศเห็นว่าเพื่อนเป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา
  • 5.5 เด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศเห็นว่าคนอื่น ๆ เป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา และเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำรู้สึกว่าคนอื่น ๆ เป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และสูง ตามลำดับ
  • 5.6เฉพาะในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุของ 
  • ความกังวลใจมากที่สุด ส่วนเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุน้อยที่สุด เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษาเห็นว่าความกังวลใจของตนเกิดจากตนเองมีมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ
  • 5.7 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง เห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุแห่งความกังวลในมากที่สุดและเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุน้อยที่สุด                                                                        

6. ความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ
  • 6.1 เกี่ยวกับเรื่องการเรียนเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำในโรงเรียนเอกเพศ กังวลใจในเรื่องการเรียนมากกว่าวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และสูง ส่วนเด็กหญิงซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง มีความกังวลใจในเรื่องการเรียนมากกว่าวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง และต่ำ ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษาพบว่าวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศมีความกังวลใจในเรื่องการเรียนมากกว่าวัยรุ่นในโรงเรียนสหศึกษา
  • 6.2 นักเรียนทั้งชายและหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำในโรงเรียนเอกเพศ มีความกังวลใจในเรื่องการเงินมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายและหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางและสูงตามลำดับ
  • 6.3 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ มีความกังวลใจเรื่องการเงินมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา ซึ่งตรงกันข้ามกับเด็กวัยรุ่นหญิงที่เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษามีความกังวลใจเรื่องการเงินมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ
  • 6.4 ในเรื่องความกังวลใจที่เกิดขึ้นจากขัดขวางการทำตามใจชอบนั้น ปรากฏว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำในโรงเรียนเอกเพศ มีความกังวลเรื่องการถูกขัดขวางการทำอะไร ๆ ตามใจชอบมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และสูง ตามลำดับ และเด็กวัยรุ่นทั้งชายและหญิงในโรงเรียนเอกเพศ กังวลใจในเรื่องนี้สูงกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา
  • 6.5 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างความกังวลใจที่เกิดจากการเรียน การเงิน และอะไรได้ตามใจชอบแล้ว ผลปรากฎว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงกังวลใจสูงที่สุดในเรื่องถูกขัดขวางการทำตามใจชอบรองลงมาคือเรื่องการเรียน และการเงิน



7. การให้ความสำคัญต่อเรื่องต่าง ๆ ได้แก่เรื่องการศึกษา ความประพฤติของตนเอง ฐานะของครอบครัว รูปร่างลักษณะหน้าตา ท่าทาง การสังคมปฎิบัติ ปรากฎผลดังต่อไปนี้
  • 7.1 ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นหญิง ให้ความสำคัญต่อเรื่องการศึกษามากกว่าเด็กวัยรุ่นชาย เด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางให้ความสำคัญต่อการศึกษามากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง และต่ำ ตามลำดับ
  • 7.2 ทางด้านความประพฤติ นักเรียนหญิงให้ความสำคัญต่อความประพฤติของตนมากกว่านักเรียนชาย ส่วนในกลุ่มนักเรียนชายโดยเฉพาะ นักเรียนชายที่มีฐานะปานกลางให้ความสำคัญต่อความประพฤติของตนมากที่สุด และนักเรียนชายฐานะต่ำให้ความสำคัญต่อความประพฤติของตนน้อยที่สุด แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างนักเรียนหญิงประเภทต่าง ๆ ในเรื่องนี้
  • 7.3 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ และเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาต่างก็ให้ความสำคัญต่อฐานะของครอบครัวมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ เด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำให้ความสำคัญต่อฐานะทางครอบครัวมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ปานกลาง และสูง ตามลำดับ
  • 7.4ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงให้ความสำคัญต่อรูปร่างลักษณะของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง 
  • และต่ำตามลำดับ ส่วนเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางกลับให้ความสำคัญต่อรูปร่างลักษณะของตนมากกว่าพวกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง และต่ำ ตามลำดับ  นอกจากนี้เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาให้ความสำคัญต่อรูปร่างลักษณะของตน 
  • มากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ
  • 7.5 ในเรื่องการสังคมปฎิบัติ ทั้งเด็กวัยรุ่นชายและหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางให้ความสำคัญมากกว่าพวกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงและต่ำ เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศให้ความสำคัญต่อเรื่องการสังคมปฎิบัติมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษา



8. การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นในเรื่องต่าง ๆ
  • 8.1 ในเรื่องการเปรียบเทียบความสามารถทางการศึกษาของตนเองกับผู้อื่น พบความแตกต่างในกลุ่มนักเรียนหญิง กล่าวคือ นักเรียนหญิงโรงเรียนเอกเพศมีความเห็นว่าตนมีความสามารถทางการเรียนมากกว่าผู้อื่นในระดับที่สูงกว่านักเรียนหญิงจากโรงเรียนสหศึกษา
  • 8.2 ในเรื่องการเปรียบเทียบความประพฤติ นักเรียนชายหญิงที่มีฐานะต่ำ เชื่อว่าความประพฤติของตนดีกว่าของผู้อื่นในระดับความเชื่อที่ต่ำกว่านักเรียนที่มีฐานะปานกลาง และสูง นอกจากนี้นักเรียนหญิงมีความเห็นว่าตนมีความประพฤติดีกว่าผู้อื่น มากกว่าความเชื่อชนิด เดียวกันในนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงในโรงเรียนเอกเพศ เชื่อว่าตนมีความประพฤติดีกว่าคนอื่นในระดับสูงกว่านักเรียนหญิงจากโรงเรียนสหศึกษา
  • 8.3 การเปรียบเทียบฐานะของตนเองกับผู้อื่น พบว่านักเรียนชายหญิงทั้งในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษา ที่มีฐานะต่ำ รู้สึกว่าตนด้อยกว่าผู้อื่นในเรื่องฐานะของครอบครัวมากกว่านักเรียนที่มีฐานะปานกลางและสูง นอกจากนี้นักเรียนชายคิดว่าตนมีฐานะด้อยกว่าผู้อื่น มากกว่านักเรียนหญิง
  • 8.4 ในการเปรียบเทียบสังคมปฎิบัติ นักเรียนชายที่มาจากครอบครัวฐานะปานกลางเชื่อว่าตนมีสังคมปฎิบัติดีกว่าผู้อื่นมากกว่านักเรียนชายที่มาจากครอบครัวฐานะสูงหรือต่ำ



9. การแสดงออกเมื่อเกิดความกังวลใจ
  • 9.1 การใช้วิธีการก้าวร้าว นักเรียนชายจากโรงเรียนสหศึกษารายงานว่า ใช้วิธีก้าวร้าว เมื่อเกิดความวิตกกังวลน้อยกว่านักเรียนชายจากโรงเรียนเอกเพศ ส่วนนักเรียนหญิงจากโรงเรียนสหศึกษาที่มีฐานะต่ำ รายงานว่าได้แสดงความก้าวร้าวน้อยที่สุด แต่นักเรียนหญิงฐานะต่ำ จากโรงเรียนเอกเพศรายงานว่าใช้วิธีนี้ดับความวิตกกังวลของตนมากที่สุด
  • 9.2 การใช้วิธีระงับความรู้สึก นักเรียนชายที่มีฐานะต่ำ เมื่อเกิดความกังวลใจจะพยายามใช้วิธีระงับความรู้สึกมากกว่านักเรียนชายที่มีฐานะอื่นๆ ส่วนนักเรียนชายฐานะปานกลางรายงานว่าใช้วิธีนี้น้อยที่สุด
  • 9.3 การใช้เหตุผลระงับความกังวล นักเรียนหญิงที่ร่ำรวยรายงานว่าตนใช้เหตุผลมากที่สุด ส่วนนักเรียนหญิงที่ยากจนรายงานว่าตนใช้เหตุผลน้อยที่สุด
ที่มา : http://bsri.swu.ac.th/abstract/abs18.htm